วิกฤตโควิด-19 ระบบแบงก์ ยังทำงานได้ดีแต่ยังไม่พอ

ตั้งแต่วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบมาตั้งแต่ปี2563 และเข้าสู่ปีที่ 2  ในปี2564หนึ่งในกลไกที่สำคัญเศรษฐกิจนั้นยังคงเดินหน้าต่อไปได้คือกลไกของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งล่าสุดเราได้มีความเห็นของท่านผู้ว่าแบงก์ชาติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าตอนนี้ทางฝั่งของธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแรงและมีความทนทานต้องการแก้ไขปัญหานี้มากน้อยแค่ไหน

โดยไทยเป็นประเทศพึ่งพาระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูงเห็นได้จากตัวเลขสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ อยู่ที่ 14 ล้านล้านบาท เทียบกับสินเชื่อที่มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ 5 ล้านล้านบาท คิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของระบบธนาคารพาณิชย์เท่านั้น และแม้ช่วงหลังภาคเอกชนจะระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น 

แต่ยอดคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนอยู่เพียง 3 ล้านล้านบาทสะท้อนให้เห็นว่าเครื่องยนต์สำคัญที่จะหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและระบบการเงินคงหนีไม่พ้นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในภาวะวิกฤตโควิด 19 ที่มีความเสี่ยงสูงและเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงโอกาสที่ทางธนาคารพาณิชย์จะหุบร่มหรือปล่อยสินเชื่อก็มีสูง

ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ลุกลามและรุนแรงกว่าเดิมหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ทปท. คือทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องใกล้เคียงกับภาวะปกติ 

เพราะธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจและตั้งแต่วิกฤตโควิด 19 ตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงวันนี้เกือบ 2 ปีที่ผ่านมาระบบธนาคารพาณิชย์ทำงานได้ดีแค่ไหนในมุมมองของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ให้ความเห็นว่าระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงทำงานได้ดีระดับหนึ่งดูได้จาก 3 เหตุผลคือ

โดย 1 สินเชื่อยังโตใกล้เคียงกลับก่อนโควิดสะท้อนกลับสินเชื่อใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2564 จากระบบธนาคารพาณิชย์ที่โตร้อยละ 4 ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดที่ประมาณร้อยละ 4 เช่นกัน ซึ่งการขยายตัวของสินเชื่อร้อยละ 4 นี้ คิดเป็นสินเชื่อเม็ดเงินใหม่กว่า5แสนล้านบาท 

2 สินเชื่อยังโตได้ดีแม้ภาวะวิกฤตหากเทียบกับบริบทเศรษฐกิจในอดีตจะเห็นว่าปกติสินเชื่อจะขยายตัวสูงในช่วงที่ GDP หรือเศรษฐกิจขยายตัวดีแต่สำหรับปีนี้เศรษฐกิจน่าจะโตไม่ถึงร้อยละ 1 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังสามารถให้สินเชื่อใหม่ได้ที่ร้อยละ 4 จึงเป็นสัญญาณว่าระบบยังทำงานได้ดี

 3สินเชื่อของไทยยังโตได้มากกว่าประเทศในภูมิภาคแม้ไทยจะถูกผลกระทบจากโควิด 19หนักสุดและฟื้นตัวได้ช้ากว่าประเทศอื่นเห็นได้จากสินเชื่อของไทย ณ สิ้นปี 2563 ที่โตร้อยละ 4 ขณะที่อินโดนีเซีย หดตัวร้อยละ 1.7 ฟิลิปปินส์หดตัวร้อยละ 0.9 และสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 1.4 มีเพียงมาเลเซียเท่านั้นที่อัตราการขยายตัวใกล้เคียงกับประเทศไทย

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย.   www.ufabet.com ลิ้งเข้าระบบ